วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ.2561

Diary No.7 Friday, 21 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary

กิจกรรมที่ 1 อาจารย์แจกแผ่นความรู้การทดลองหน่วยวิทยาศาสตร์เรื่องต่างๆ ของบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ให้อ่านคนละ 1 เรื่อง แล้วแจกกระดาษให้นักศึกษาสรุปเกี่ยวกับเรื่องที่ได้ลงในกระดาษ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

ซึ่งดิฉันได้หน่วยไฟฟ้า


การหักเหน้ำ

ข้อควรรู้
กระแสไฟฟ้าไม่ได้เกิดขึ้นจากกระแสไฟฟ้าเท่านั้น! แต่สามารถสร้างไฟฟ้าสถิตบนผิวของวัสดุที่ทำด้วยพลาสติก และไฟฟ้าสถิตสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ ของเหลว

ปัญหา จะทำให้สายน้ำหักเห (เปลี่ยนทิศทาง)ได้อย่างไรบ้าง
สมมติฐาน ถ้าลองใช้ผ้าขนสัตว์ถูกับช้อนพลาสติกแรงๆหลายๆครั้ง แล้วนำช้อนไปจ่อใกล้ๆกับสายน้ำจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทดลอง
1.นำขวดน้ำมาเจาะรูแล้วเติมน้ำลงไปให้เลยจุดที่เจาะรู
2.ใช้ผ้าขนสัตว์ถูกับช้อนพลาสติกจนเกิดความร้อน
3.นำช้อนไปจ่อใกล้ๆกับสายน้ำ
4.สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น

กิจกรรมที่ 2 ➨อาจารย์ให้คิดค้นสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คนละ 1 อย่างโดยไม่ซ้ำกัน และสามารถนำมาใช้ได้จริง  แล้วให้หาวัสดุภายในห้องเรียนประดิษฐ์ให้เสร้จเรียบร้อย 
อุปกรณ์หลัก คือ
➤แกนกระดาาทิชชู่

ภาพกิจกรรม 



              
Assessment ( การประเมิน )
             - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบตามหน้าที่ 
                - Friend : ตั้งใจเรียนและทำงานของตัวเองสำเร็จลุล่วง
              - Teacher : ให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางในการเรียนรู้และหาคำตอบในสิ่งที่สงสัย ให้ลงมือกระทำด้วยตนเอง 


วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ.2561

Diary No.6 Friday, 14 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary
อาจารย์ให้ศึกษางานวิจัยของตนเอง และให้บอกชื่อวิจัยพร้อมกับอธิบายถึงเป้าหมายของวิจัยและตัวอย่างกิจกรรมหรือแผนการจัดกิจกรรมในวิจัย อาจารย์ได้คำแนะนำต่างๆเกี่ยวกับการหาวิจัย การสร้างกิจกรรมการสอน และการสรุปงานวิจัย



Teaching Methodes (วิธีการสอน)
            การถามเพื่อให้คิดหาคำตอบ การแนะนำความรู้ต่างๆ และสอดแทรกตัวอย่างให้เห็นภาพ
Assessment ( การประเมิน )
            - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบ 
               - Friend : ตั้งใจฟัง จดบันทึก
               - Teacher : อารมณ์ดี เป็นกันเอง พูดเข้าใจชัดเจน เสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้




วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ.2561

Diary No.5 Friday, 7 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.




Knowledge summary
  วันนี้อาจารย์ติดงานราชการ แต่อาจารย์มอบหมายงานให้แต่ละกลุ่มปรึกษากันคิดฐานกิจกรรมต่างๆที่จะให้เด็กๆทำและเหมาะสมกับองค์ประกอบของกิจกรรมที่คิดขึ้นมา ในพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เมื่อไปจัดกิจกรรมจะได้มีความพร้อมและสมบูรณ์

Assessment ( การประเมิน )
             - Self : มีความรับผิดชอบในหน้าที่
                - Friend : ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม
                - Teacher : ให้คำแนะนำเกี่ยวกับชิ้นงาน



วันศุกร์ที่ 31สิงหาคม พ.ศ.2561

Diary No.4 Friday, 31 August 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
🔺🔻เด็กปฐมวัยจะพัฒนาได้อย่างไร? การจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึง เนื้อหา ความรู้ ลักษณะที่เหมาะสมของเด็กเป็นไปตามลำดับขั้นที่ต่อเนื่อง
วิทยาศาสตร์ คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัวของเรา

เด็กปฐมวัย → วัยที่อยากรู้อยากเห็น
→ แสวงหาความรู้ ความสามารถ แก้ปัญหาได้ด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบๆตัว
→ วัยที่มีพัฒนาการของสมองมากที่สุดของชีวิต ( แรกเกิดถึง 6 ปี )
คุณภาพของสมอง คือ อาหาร น้ำ และการพักผ่อน

ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. ทักษะการสังเกต ( Observation ) หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น ผิวกาย สัมผัสโดยตรงกับวัตถุ มีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลรายละเอียดของสิ่งๆนั้น ( ประสาทสัมผัสทั้ง 5)
เช่น 1.1 การสังเกตรูปร่างลักษณะ
1.2สังเกตการวัดเพื่อทราบปริมาณ เช่น การตวง
1.3สังเกตการเปลี่ยนแปลง
2.ทักษะการจำแนกประเภท ( Classifying ) หมายถึง ความสามารถในการแบ่งประเภทสิ่งของโดยหาเกณฑ์ เช่น
2.1 ความเหมือน ( Similarities ) มีลักษณะเหมือนกันทุกอย่างเอาเข้ากลุ่มเดียวกัน
2.2 ความแตกต่าง ( Differences ) มีลักษณะต่างกันเอาออกจากกลุ่ม
2.3 ความสัมพันธ์ร่วม ( Interrelationships ) มีบางสิ่งที่เหมือนกันสัมพันธ์กัน
3.ทักษะการวัด ( Measurement ) หมายถึง การใช้เครื่องมือต่างๆวัดหาปริมาณของสิ่งที่เราต้องการ โดยมีหน่วยการวักกำกับ เช่น
3.1 รู้จักกับสิ่งของที่จะวัด
3.2 เลือกเครื่องมือวัด
3.3 วิธีการที่จะวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย ( Cummunication ) หมายถึง การพูด เขียน รูปภาพ และภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า ความสามารถในการรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เช่น
4.1 บรรยายลักษณะคุณสมบัติของวัตถุ
4.2 บันทึกการเปลี่ยนแปลงของวัตถุได้
4.3 บอกความสัมพันธ์ของข้อมูล
4.4 จัดกระทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล ( Inferring ) หมายถึง การเพิ่มเติ่มความคิดเห็นข้อมูลที่มี อยุ่โดยอาศัยความรู้ประสบการณ์เดิม เช่น
5.1 ลงข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ
5.2 ลงข้อสรุปความสัมพันธ์สิ่งต่างๆ
5.3 สังเกตการเปลี่ยนแปลง
6. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา ( Space ) หมายถึง การเรียนรู้ 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ เขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ บอกทิศทาง เงา จากภาพ 3 มิติ หาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา เช่น
6.1 บอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางของวัตถุ
6.2 บอกตำแหน่งทิศทางวัตถุ
6.3 บอกตำแหน่งซ้าย ขวา ขอวภาพวัตถุจากกระจกเงา
7. ทักษะการคำนวณ หมายถึง ความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุ บวก ลบ คูณ หาร บอกลักษณะต่างๆ ความกว้าง ยาว สูง พื้นที่ ปริมาตร น้ำหนัก เช่น
7.1 การนับจำนวนวัตถุ
7.2 การบวก ลบ คูณ หาร
7.3 การนับจำนวนตัวเลข มากำหนด บอกลักษณะของวัตถุ

มาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย
- มาตรฐานด้านผู้เรียน มีความสามารถในกรคิดวิเคราะห์ มีวิจารณญาณ และมีความคิดสร้างสรรค์

สมองกับวิทยาศาสตร์ 1. ตีความข้อมูลที่ได้รับเพื่อทำความเข้าใจ
2.หาเหตุผลเชื่อโยงสิ่งที่คิดขึ้นเพืีอสืบค้นความจริง
3. ประเมินคุณค่าของสิ่งต่างๆเพื่อการตัดสินใจ
4. จำแนกองค์ประกอบเพื่อเห็นภาพรวมทั้งหมด
คุณสมบัติบุคคลที่เอื้ต่อทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1. ควารู้ความเข้าใจในเรื่องที่จะวิเคราะห์
2. ช่างสังเกต ช่างสงสัย ช่างไต่ถาม คำถามที่มักใช้ 5W 1H
3. ความสามารถในการลงความเห็น
4. ความสามารถในการหาความสัมพันธืเชิงเหตุผล
องค์ประกอบของการคิดทางวิทยาศาสตร์
1. สิ่งที่กำหนด → สังเกต จำแนก วัด
2. หลักการหรือกฎเกณฑ์ → เกณฑ์จำแนกสิ่งที่เหมือนกัน
3. การค้นหาความจริงหรือความสำคัญ → ส่วนที่กำหนดให้ รวบรวม สรุป
สรุปความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ทำให้ชีวิตสะดวกสบายขึ้น ตามทันโลก ดำรงชีวิตได้กับทุกๆสิ่งในโลกได้
- คาดคะเนอนาคตได้ รู้ในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการวิเคราะห์
- แก้ไขปัญหาต่างๆ

ภาพบรรยากาศการเรียน

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
ใช้ทักษะการสอนความรู้พื้นฐาน ความหมาย หลักการ ทฤษฎีและการนำไปใช้ เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
               นำความรู้มาสรุปทบทวนให้เข้าใจ และนำมาปรับใช้กับการทำกิจกรรม

Assessment ( การประเมิน )
            ตนเอง :ไม่ได้มาเรียนเนื่องจากไปเฝ้าแม่ที่โรงพยาบาลค่ะ
➤บันทึกของ ณัฐชา บุญทอง
              

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2561

Diary No.3 Friday, 24 August 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary
วันนี้อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เพื่อคิดวางแผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก เพื่อนำไปจัดที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จากนั้นเข้าห้องที่ปรึกษานำแผนกิจกรรมส่งอาจารย์

Teaching Methodes (วิธีการสอน)

สอนให้รู้จักวางแผนงานต่างๆ ระดมความคิด และรู้จักนำสิ่งที่เรียนไปแล้วกลับมาใช้อีก เพื่อพัฒนาทักษะการคิดกิจกรรมสำหรับเด็ก

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)

               สามารถนำกิจกรรมที่คิดวางแผนแล้วนั้นไปผลิตสื่อการสอน และนำมาสอนเด็กๆ หรือเป็นแนวทางสำหรับเพื่อนๆกลุ่มอื่นๆได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อได้

Assessment ( การประเมิน )

             ตนเอง:  ช่วยคิดวางแผนงาน มาเรียนตรงเวลา ทำงานที่รับผิดชอบ
                เพื่อน: ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในกลุ่ม
             อาจารย์: แนะนำการสร้างกิจกรรมให้แก่นักศึกษา พร้อมทั้งแนะนำการนำกิจกรรมไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด


วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Diary No.2 Friday, 17 August 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary
กิจกรรมที่ 1 อาจารย์ให้ศึกษาเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ว่ามีอะไรบ้างโดยให้แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม ช่วยกันค้นคว้าหาข้อมูลและนำมาเขียนเป็น Mind mapping และนำเสนอชิ้นงาน
หลังจากนั้น อาจารย์ดูผลงานและให้คำแนะนำเพิ่มเติม และนักศึกษาแต่ละกลุ่ม ให้คะแนน Mind mapping ของกลุ่มเพื่อนๆ ยกเว้นของตัวเอง พร้อมบอกเหตุผลว่า ให้กี่คะแนน เพราะอะไร

ภาพกิจกรรม

กลุ่มที่ 1


กลุ่มที่ 2


 กลุ่มที่ 3


 กลุ่มที่ 4



 กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ถามทีละคนว่านึกถึงสิ่งประดิษฐ์อะไรบ้างที่อยู่ในศูนย์วิทยาศาสตร์ ให้นักศึกษาบอกมาคนละ 1 อย่าง  ดิฉันตอบว่า  แร่ธาตุ แร่ธาตุคือส่วนประกอบของโลก

 กิจกรรมที่ 3  อาจารย์ให้เล่นเกม โดยแจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้นักศึกษาเขียนคำศัพท์ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และลำดับที่ไว้เป็นของตัวเอง ให้หาคำคล้องจองภาษาไทยหรืออังกฤษก็ได้ต่อจากคำของเพื่อน และเขียนคำของตัวเองลงในกระดาษ จนครบทุกคน  
ดิฉันเขียนว่า Mantelนื้อโลก


         Vocabulary
Biology          ชีววิทยา
Chemistry     เคมี
Tree              ต้นไม้
Invention       สิ่งประดิษฐ์
Machine        เครื่องกล
Mantle           เนื้อโลก
Sun               พระอาทิตย์
Mineral          แร่ธาตุ
Small             เล็ก
Robot            หุ่นยนต์

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

Diary No.14Friday, 16 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM. Knowledge summary วันนี้อาจารย์ให้ส่งใบงานแผนผังความคิด เกี่ยวกับ...