วันเสาร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

Diary No.14Friday, 16 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.


Knowledge summary

วันนี้อาจารย์ให้ส่งใบงานแผนผังความคิด เกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองได้ทำ และพูดถึงกิจกรรมการทดลองที่ไปจัดการเรียนรู้ที่โรงเรียนสาธิตว่าแต่ละกลุ่มเป็นอย่างไรที่ได้ไปทดลองสอนกับเด็กจริงๆ และอาจารย์ก็ให้คำแนะนำ ว่าขาดตกบกพร่องในเรื่องใดบ้างและบอกวิธีการแก้ปัญหา
ในการนำไปปรับใช้ในภายภาคหน้า

กิจกรรมที่ 1อาจารย์ให้ทำแผนผังโดยเลือกหมวดอะไรก็ได้ ดิฉันเลือกเรื่องถั่วเขียว
กิจกรรมที่ 2อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มเลือกเรื่องจากแผนผังในกลุ่มของตนเองมา1เรื่อง
เพื่อมาทำเป็นแผนจัดประสบการณ์สำหรับเด็ก 5วัน
ตัวอย่างแผน
แผนการจัดประสบการณ์ 
วันจันทร์


วันอังคาร

วันพุธ


วันศุกร์ 



แผนผังเรื่อวงจรชีวิตผีเสื้อ

              
เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน
  • การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการวางแผนเป็นขั้นตอน

Assessment ( การประเมิน )
             - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบตามหน้าที่ 
                - Friend : ตั้งใจเรียนและทำงานของตัวเองสำเร็จลุล่วง
              - Teacher : ให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางในการเรียนรู้และใส่ใจนักศึกษา

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

Diary No.15Friday, 23 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary
วันนี้อาจารย์แนะนำโปรแกรม Biteable เกี่ยวกับการนำเสนอกิจกรรมต่างๆที่ได้ทำมา

ตัวอย่างวีดิโอ     

         

เทคนิคที่อาจารย์ใช้สอน
  • การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและสามารถนำไปใช้ได้จริงในการเรียน
Assessment ( การประเมิน )
             - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบตามหน้าที่ 
                - Friend : ตั้งใจเรียนและทำงานของตัวเองสำเร็จลุล่วง
              - Teacher : ให้คำปรึกษาแนะนำแนวทางในการเรียนรู้และใส่ใจนักศึกษา

บทความ


สรุปบทความ: เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานของเด็กปฐมวัย
นิทานสามารถทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์ และยังสอดคล้องกับวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และความรู้ด้านต่าง ๆนอกจากนี้ยังสอดแทรกผ่านวิธีคิดที่เป็นเหตุผล เช่น ในนิทานเรื่องลูกหมู 3 ตัว ที่วิทยากรยกตัวอย่างในการอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้สอดแทรกเรื่องเกี่ยวกับวิธีการสร้างบ้าน ลำดับ พื้นที่ ทิศทาง ซึ่งคุณครูหรือผู้เล่านิทาน จะต้องมาเลือกดูว่าต้องการให้เด็กเรียนรู้ด้านใด แล้วแต่ว่าจะหยิบจับจุดใดมาเล่า แล้วเด็กก็จะได้ประสบการณ์ตรงนี้


ตัวอย่างนิทาน





เทคนิคการเลือกนิทานให้เด็ก
  •  ควรเลือกให้เหมาะกับวัย เช่น เด็กเล็ก เริ่มจากเรื่องราวสิ่งใกล้ตัวที่เขาชอบ เช่น สัตว์ ธรรมชาติ ภาพน่ารัก ๆ เลือกสีสัน และเนื้อหาที่ไม่ยาวเกินไป
ข้อควรระวังในการเล่านิทาน
  • คือ “เวลาเล่านิทาน ถ้าเด็กมีความคิดใหม่ ๆ หรือคำพูดที่ไม่ตรงกับสิ่งที่พ่อแม่ต้องการหรือคาดหวัง ก็ไม่ควรปฏิเสธ เพราะจะปิดกั้นความคิด อาจทำให้เด็กขาดความมั่นใจ คือ อย่าเพิ่งไปบอกเด็กว่าไม่ใช่ อาจจะเฉยๆ ไปก่อน หรือมีวิธีพูดอย่างอื่น” ไม่ควรหยุดเล่ากลางคัน เพื่อผละไปทำอย่างอื่นในขณะที่เด็กมีความสนใจในเรื่องที่เล่า จะทำให้ความใฝ่รู้ของเด็กตรงนั้นสะดุด


สรุปวิจัย



วัตถุประสงค์ของงานวิจัย

               1.เพื่อหาประสิทธิภาพของการจัดรูปแบบประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและการใช้คำถาม
               2.เพื่อดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการแบบเด็กนักวิจัยและการใช้คำถาม
              3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัยและการใช้คำถาม

กลุ่มตัวอย่าง
            กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชั้น อนุบาล 2 โรงเรียนชุมชนวัดสามบ่อ  จำนวน 34 คน ดำเนินการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม 

การทดลอง
           ทำการทดลองจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรูู้แบบเด็กนักวิจัยและเทคนิคการใช้คำถาม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ ล่ะ 5 วัน วันล่ะ 1 ชั่วโมง

ตัวแปร
  • ตัวแปนต้น  : กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  • ตัวแปรตาม : การจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
           1.แผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แบบเด็กนักวิจัย 8 แผ่น
           2.แบบทดสอบระหว่างเรียน  จำนวน 8 ฉบับ ฉบับล่ะ 8 ข้อ
           3.แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย จำนวน 1 ฉับบ จำนวน  20  ข้อ

สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • t-test for Dependent Samples
ผลการวิจัย
          1.ระสิทธิภาพของการจัดรูปแบบประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยและการใช้คำถาม มีประสทธิภาพ โดยเฉลี่ย (E1/E2) เท่ากับ 79.73/82.05
          2. ดัชนีประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการแบบนักวิจัยและการใช้คำถาม มีค่าเท่ากับ 0.63
          3. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัยก่อนหลังการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัยและการใช้คำถาม เทคนิคการใช้คำถามสูงกว่าก่อนรับการจัดประสบการณ์เรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ .01



เรื่อง น้ำเดินได้
ตัวอย่างการเรียนการสอน

อุปกรณ์ที่เราต้องเตรียม What we need
• กระดาษทิชชู (Paper Towels) หรือจะใช้กระดาษทิชชูเปียกก็ได้ค่ะ
• แก้วน้ำ หรือ ขวดแก้วใส (Glasses)
• สีผสมอาหาร คือ สีน้ำเงิน แดง เหลือง (Blue , Red , Yellow Food Colouring)
• น้ำเปล่า (Water)
สรุป:น้ำเดินได้
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น Why is it so?
• น้ำจะค่อยๆ เคลื่อนที่ผ่านไปตามท่อ ซึ่งในการทดลองนี้คือ กระดาษทิชชู ซึ่งเรียกว่า Capillary Action (การซึมผ่านตามรูเล็กๆ) เนื่องจากกระดาษทิชชูทำมาจากเยื่อต้นไม้คือเส้นใย จึงเป็นหลักการเดียวกันกับพืชที่สามารถลำเลียงน้ำจากพื้นดิน เข้าสู่รากไปยังลำต้น กิ่งก้าน ใบ ค่ะ 
• สำหรับกระดาษทิชชูมีคุณสมบัติดูดซึมซับน้ำได้ดีมาก (Absorbent) เนื่องจากว่า... กระดาษทิชชูมีช่องว่างของเส้นใยที่ทำให้น้ำสามารถผ่านได้ง่ายและรวดเร็ว 
• การที่น้ำสามารถเคลื่อนขึ้นข้างบนต้านกับแรงโน้มถ่วงของโลกได้ เพราะเกิดแรงดึงดูดขึ้น (Attractive forces) ระหว่างน้ำกับเส้นใยที่อยู่ในกระดาษทิชชู
• นอกจากนี้ ถ้าสังเกตดูดีๆจะเห็นว่า ... เกิดสีใหม่ๆ เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ คือ
แดง + น้ำเงิน = ม่วง
น้ำเงิน + เหลือง = เขียว
เหลือง + แดง =  ส้ม

วันศุกร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2561

Diary No.11 Friday,26 October  2018  Time 08.30 - 12.30 AM.





Knowledge summary
อาจารย์เปิดคลิปวีดิโอของเพื่อนๆ

นางสาวปรางทอง สุริวงศ์
ประเด็นปัญหา: อะไรที่ทำให้ไฟฟ้าติดได้บ้าง
สมมุติฐาน: ถ้าเอาลวดมาต่อจะเกิดอะไรขึ้น และถ้าเอากระดาษลูกฟูกมาต่อจะเกิดอะไรขึ้น
สรุป: ไฟติดเพราะต่อครบวงจร และลวดเป้นโลหะเป็นตัวนำไฟฟ้าไฟจึงติด เมื่อนำกระดาษลูกฟูกมาต่อปรากฎว่าไฟไม่ติดเพราะกระดาษเป็นอะโลหะไม่นำไฟฟ้า

นางสาวบงกชกมล ยังโยมร
ประเด็นปัญหา: น้ำอะไรที่ทำให้ถั่วเขียวลอยขึ้นได้บ้าง
สมมุติฐาน: ถ้านำถั่วเขียวใส่ในน้ำเปล่าจะเกิดอะไรขึ้น และถ้านำถั่วเขียวใส่น้ำโซดาจะเกิดอะไรขึ้น
สรุป: นำถั่วเขียวใส่น้ำเปล่าถั่วเขียวไม่ลอย เมื่อนำถัวเขียวมาทดลองกับโซดาปรากฎว่าถั่วเขียวลอยและเกิดฟองซ่า เพราะในน้ำโซดามีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

นางสาวมารีน่า ดาโร๊ส
ประเด็นปัญหา: เราจะดับไฟได้อย่างไรบ้าง
สมมุติฐาน: ถ้านำแก้วมาครอบเทียนจะเกิดอะไรขึ้น
สรุป: เมื่อนำแก้วมาครอบเทียนไฟดับ เพราะการครอบแก้วทำให้อากาศเข้าไปไมม่ได้ ทำให้ก๊าซออกซิเจนค่อยๆหายไป เมื่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้ามาแทนที่ก็จะทำให้ไฟดับ

นางสาวณัฐชา บุญทอง
ประเด็นปัญหา: กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอะไรได้บ้าง
สมมุติฐาน: ถ้าคุณครูต่อวงจรเข้ากับสิ่งของต่างๆจะเกิดอะไรขึ้น
สรุป: เมื่อนำช้อนไปต่อวงจรไฟฟ้าติด แสดงว่าช้อนเป็นโลหะกระแสไฟฟ้าสามารถไหลผ่านได้เมื่อต่อครบวงจร ไฟจะติด ถ้าต่อไม่ครบวงจรไฟก็จะไม่ติด เช่น ยางลบเป็นอะโลหะเมื่อนำยางลบไปต่อกับวงจร กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ไฟจึงไม่ติด

ชาณิศา หุ้ยทั่น
ประเด็นปัญหา: อะไรที่ทำให้น้ำไม่หกออกมา
สมมุติฐาน: ถ้าเรานำกระดาษมาปิดปากแก้วแล้วคว่ำแก้วจะเกิดอะไรขึ้น
สรุป: น้ำไม่หก เพราะน้ำดันอากาศไว้ทำให้น้ำไม่หกออกมา

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
           อาจารย์แนะนำวิธีการสอนในแต่ละขั้น เพื่อฝึกทักษะการสังเกตและการคิด
Assessment ( การประเมิน )
            - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบ 
               - Friend : ตั้งใจฟัง จดบันทึก
               - Teacher : อารมณ์ดี เป็นกันเอง พูดเข้าใจชัดเจน เสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้

วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

Diary No.12 Friday, 2 November   2018  Time 08.30 - 12.30 AM.





Knowledge summary
วันนี้อาจารย์ให้นำเสนอคลิปวีดิโอจากการทดลองกลุ่มที่ไปจัดฐานกิจกรรมวิทยาศาสตร์ที่โรงเรียนสาธิต




ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไข
  • เมื่อเริ่มการทดลองควรนำของที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทดลองนั้นออก



Teaching Methodes (วิธีการสอน)
           อาจารย์ให้การแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับการนำไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้กับเด็ก โดยครูจะต้องตั้งประเด็นคำถามเพื่อให้เด็กได้สังเกตได้คิดตาม
Assessment ( การประเมิน )
            - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบ 
               - Friend : ตั้งใจฟัง เข้าเรียนตรงเวลา
               - Teacher : การสอนโดยใช้คำพูดที่เข้าใจชัดเจน เสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้กับนักศึกษา


วันเสาร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2561

วันศุกร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2561

Diary No.10 Friday, 19 October 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.

Knowledge summary
วันนี้อาจารย์ให้จับกลุ่มและเลือกการทดลองที่สนใจมานำเสนอ1เรื่อง โดยทำโครงการแต่ละฐานมาจัดกิจกรรมให้เด็ก
กลุ่มดิฉันทำการทดลองเรื่อง น้ำ
"ชื่อฐาน น้ำนิ่งไหลลึก"
วัตถุประสงค์
  • อธิบายคุณสมบัติของน้ำได้
  • เด็กบอกได้ว่าน้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต
  • เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม
  • เด็กได้รับความสนุกสนานและได้ความรู้จากการทดลอง
  • เด็กรู้จักสังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น
  • เด็กได้คิดวิเคราะห์
ข้อความรู้
           น้ำเป็นของเหลวชนิดหนึ่ง มีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต

ประเด็นที่อยากรู้
          น้ำมีคุณสมบัติอย่างไร

สมมติฐาน
  • ถ้าเทน้ำใส่ในแก้วจะเกิดอะไรขึ้น 
  • ถ้าเติมน้ำในภาชนะต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น
  • ถ้าวางวัตถุบนผิวน้ำจะเกิดอะไรขึ้น
  • ถ้านำผักผลไม้มาบีบจะเกิดอะไรขึ้น
สื่อ/อุปกรณ์
  • น้ำ
  • แก้วรูปทรงต่างๆ
  • คลิปหนีบกระดาษ
  • น้ำยาล้างจาน
  • (แอปเปิ้ล ว่านหางจระเข้)
สรุปการทดลอง
  1. เทน้ำสลับไปมา ที่น้ำไหลกลับไปมาได้เพราะน้ำมีคุณสมบัติเป็นของเหลว
  2. น้ำเปลี่ยนแปลงรูปร่างตามภาชนะ
  3. วางคลิปหนีบกระดาษบนผิวน้ำได้โดยไม่จม เพราะน้ำมีแรงตึงผิว
  4. บีบแอปเปิ้ลและว่านหางจระเข้แล้วมีน้ำออกมาเพราะน้ำเป็นส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิต

Teaching Methodes (วิธีการสอน)
            การให้ลองคิดเพื่อให้คิดหาคำตอบ การจัดฐานกิจกรรมให้กับเด็ก โดยได้การแนะนำความรู้ต่างๆ และสอดแทรกตัวอย่างให้เห็นภาพโดยอาจารย์
Assessment ( การประเมิน )
            - Self : เข้าเรียนตรงเวลา รับผิดชอบ 
               - Friend : ตั้งใจฟัง จดบันทึก
               - Teacher : อารมณ์ดี เป็นกันเอง พูดเข้าใจชัดเจน เสนอแนะสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้

วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2561

Diary No.9 Friday, 12 October 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.


Knowledge summary
       อาจารย์ให้การนำเสนอกิจกรรมการทดลองบ้านวิทยาศาสตร์น้อย 

บันทึกการทดลองของเพื่อน

 นางสาวอรอุมา  ศรีท้วม ทดลองเรื่องปริมาณน้ำ
ทดลองโดย นำแก้ว 4 ใบที่มีขนาดความสูงต่ำแตกต่างกันมาวาง เทน้ำใส่แก้วทั้ง 4  ใบใน         ปริมาณที่เท่ากัน  จากนั้นถามว่าน้ำในแก้วทั้ง 4 เท่ากันหรือไม่ เด็กอาจจะตอบว่า ไม่เท่ากัน หรือเท่ากันขึ้นอยู่กับ ความคิดของเด็กจากประสบการณ์เดิมและความ คิดรวบยอดในการเชื่อโยงสิ่งต่างๆ

นางสาวณัฐธิดา  ธรรมแท้  ทดลองเรื่องน้ำมะนาวโซดา
ทดลองโดย   นำเบกกิงโซดา ผงมะนาว และน้ำผสมกัน  ในปริมาณที่เหมาะสมลงในแก้ว
                        จากนั้นใส่น้ำหวานลงไป คนให้เข้ากัน เพื่อทำน้ำมะนาวโซดา 
                         แล้วให้เด็กๆออกมาชิมรสชาติ และบอกว่าเป็นอย่างไร


นางสาว ปวีนา พันธ์ ทดลองเรื่องการเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ทดลองโดย นำ เบกกิ้งโซดา นำ้ตาลทราย ผงฟู เกลือ มาใส่แก้วที่ปริมาณเท่ากัน จากนั้นตักน้ำมะนาวใส่ในเเก้ว 
แก้วแรกเบกกิ้งโซดา เมื่อใส่น้ำมะนาวแล้วแล้วมีฟองขึ้น
แก้วที่สองน้ำตาล      เมื่อใส้มะนาวแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น
แก้วที่สามผงฟู          เมื่อใส่น้ำมะนาวแล้วแล้วมีฟองขึ้น
แก้วที่สี่เกลือ             เมื่อใส้มะนาวแล้วไม่มีอะไรเกิดขึ้น
สรุปการทดลอง เบกกิ้งโวดาและผงฟูฌดนกรดของมะนาว ทำให้เกิดฟองขึ้น เป็นก๊าซคาร์บอนไดอกไซด์
                                 
Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
             สามารถนำไปใช้ในการทดลองและสอนเด็กๆเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน  และนำสิ่งประดิษฐ์มาใช้ได้จริงในการเรียนการสอน    
        
Assessment ( การประเมิน )
     Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจฟังที่เพื่อนนำเสนอ และมีส่วนรวม
     Friend :ตั้งใจฟัง นำเสนอได้ดี  รวมทำกิจกรรม
     Teacher : สอนรายละเอียดเชื่อมโยงให้เห็นภาพและ แนะนำการแก้ไขสิ่งต่างๆ
                             

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ.2561

Diary No.8 Friday, 5 October 2018  Time 08.30 - 12.30 AM.


Knowledge summary

    อาจารย์ให้การนำเสนอกิจกรรมการทดลองบ้านวิทยาศาสตร์น้อย โดยแต่ละคนจะได้เรื่องที่แตกต่างกันไป และอาจารย์ให้เอาอุปกรณ์เตรียมการทดลองมานำเสนอให้เพื่อนๆหน้าชั้นเรียนดดยให้เพื่อนมีส่วนรวมในการทดลองครั้งนี่

บันทึกการทดลอง

    
 คนที่หนึ่ง นางสาว ขนิษฐา  สมานมิตร   ทดลองเรื่อง เอดิเคเตอร์จากพืช
ทดลองการหยดสีของน้ำมะนาว โซดา น้ำเปล่า มาหยดลงในน้ำกะหล่ำปลีสีม่วงแล้วให้สังเกตการเปลี่ยนแปลงสีของน้ำกะหล่ำปลีสีม่วง 
ขั้นที่ 1 หยดน้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีแดง 
ขั้นที่ 2 หยดน้ำโซดาเปลี่ยนเป็นสีม่วงเข้ม 
ขั้นที่ 3 หยดน้ำเปล่าไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง 



 คนที่สอง นางสาววิภาพร  จิตอาคะ ทดลองเรื่อง จรวดกล่องฟิล์ม
ทดลองการทำจรวดแรงดัน โดยการนำเบกกิ้งโซดา  น้ำมะนาว มาเทผสมกันใส่ในกล่อง ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีฟองขึ้นแล้วเกิดแรงดันภายในทำให้ฝากล่องฟิล์มพุ่งขึ้น เมื่อทำการทดลองไม่เป็นไปตามผลการทดลอง

                             

 คนที่สาม นางสาววสุธิดา   คชชา  ทดลองเรื่องการละลายของน้ำตาล
ทดลองโดย นำน้ำตาล 2 ก้อนวางในจานที่มีน้ำ โดยวางให้ห่างกัน แล้วนำสีผสมอาหารหยดลงบนก้อนน้ำตาล ทั้ง 2 ก้อน สังเกตการเปลี่ยนแปลง
 สรุปการทดลอง การละลายของน้ำตาลเกิดจากก้อนน้ำตาลมีอากาศ เมื่ออากาศถูกแทนที่ด้วยน้ำ ทำให้น้ำตาลดูดน้ำจนละลายน้ำ

                              



 คนที่สี่ นางสาวกิ่งแก้ว   ทนนำ  ทดลองเรื่องแสงและภาพ 
  ทดลองโดย 
 ขั้นที่1 วาดรูปลงบนแผ่นใส แล้วนำกระดาษสีดำประกบหลังแผ่นใสสังเกตมองไม่เห็นภาพ  
แล้วเปลี่ยนสีกระดาษเป็นสีขาว สังเกตการเปลี่ยนแปละ มองเห็นภาพ
 ขั้นที่ 2 นำกระดาษขาวตัดเป็นวงกลมทำเป็นไฟฉาย แล้วสอดเข้ารหว่างกระดาษสีดำกับแผ่นใส จะเห็นรูปภาพ 




    คนที่ห้า นางสาวอภิชญา  โมคมูล ทดลองเรื่อง แสงและเงา
ทดลองโดย  นำลูกปิงปองมาวางในกล่องระยะใกล้กับไกล จากนั้นปิดไฟแล้วนำไฟฉายมาส่องที่ลูกปิงปอง สังเกตการเปลี่ยนแปลง  ลูกปิงปองที่อยู่ไกล้เมื่อแสงส่องไปจะเป็นเงาเล็ก แต่ถ้าส่องลูปปิงปองระยะไกลเงาจะใหญ่ 

Apply (นำไปประยุกต์ใช้)
             สามารถนำไปใช้ในการทดลองและสอนเด็กๆเกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์ในชีวิตประจำวัน และนำสิ่งประดิษฐ์มาใช้ได้จริงในการเรียนรู้ในอนาคต    
       
Assessment ( การประเมิน )
    Self : เข้าเรียนตรงเวลา ตื่นเต้นกับการนำเสนอ และตั้งใจฟังอาจารย์อธิบายในการเรียน
     Friend :เพื่อนๆตั้งใจฟัง แล้วให้ความรวมมือในการนำเสนอได้ดี 
    Teacher : เน้นการมีส่วนร่วม สอนมีความเข้าใจ และใส่ใจนักศึกษา และอธิบายให้เนื้อหาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น



วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2561

Diary No.14Friday, 16 September 2018  Time 08.30 - 12.30 AM. Knowledge summary วันนี้อาจารย์ให้ส่งใบงานแผนผังความคิด เกี่ยวกับ...